เกี่ยวกับเรา
ในปี 2542 "ชมรมส่งเสริมผู้รับช่วงการผลิต" ได้ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มสมาชิกผู้ผลิตชิ้นส่วน ส่วนมากเป็นบริษัทไทยผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำกิจกรรมผู้ซื้อพบผู้ขายร่วมกับหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (BUILD) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยพาสมาชิกไปพบกับกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นโรงงานต่างๆ ทั่วประเทศ เช่นโรงงานผลิตรถยนต์เครื่องจักร และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น
โดยอดีตสมาคมฯ แบ่งกลุ่มสมาชิกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ 4 กลุ่ม ตามวัตถุดิบและกระบวนการผลิตชิ้นงานและผลิตภัณฑ์
1. กลุ่มผู้ผลิตงานโลหะ (ขึ้นเป็น CG: Casting, Stamping, Pressing Maching และอื่นๆ)
2. กลุ่มผู้ผลิตงานพลาสติก, ยาง และเส้นใยสังเคราะห์ (ขึ้นเป็น CG: Plastic, Rubber,Polymer)
3. กลุ่มผู้ผลิตงานชิ้นส่วนไฟฟ้า และอิเลคโทรนิคส์
4. กลุ่มการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และบริการอื่นๆ
กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจาก "ชมรมส่งเสริมผู้รับช่วงการผลิต" ได้ก่อให้เกิดประโยชน์และเกิดการพัฒนาไปสู่กลุ่มของอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิต และบริการ ด้วยจำนวนสมาชิกมีเพิ่มมากขึ้น และความเข้มแข็งของกลุ่มพันธมิตรต่างๆ ของสมาคม จึงทำให้ในปัจจุบัน สามารถให้การสนับสนุนได้ในทุกอุตสาหกรรม จนสามารถจัดตั้งขึ้นเป็น “สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย” ในปี 2546
ปัจจุบันในปี 2561 สมาคมฯ มีสมาชิกมากกว่า 400 ราย และได้แบ่งสมาชิกสมาคมฯ ใหม่ออกเป็น 16 กลุ่ม ดังนี้
1) สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ S-Curve
1.1 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Automation for industry)
1.2 อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital & Software)
1.3 อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
1.4 อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub, Medical Parts & Equipment)
1.5 อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
1.6 อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (Defense Industry)
1.7 อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Way System Industry)
1.8 อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next generation automotive)
1.9 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
1.10 อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Supporting Biotechnology)
1.11 อุตสาหกรรมชิ้นส่วน และเครื่องจักรการแปรรูปอาหาร (Parts/ Machine of Food for the Future)
2 สมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ (Others Cluster)
2.1 อุตสาหกรรมงานเครื่องกลและวิศวกรรม (Mechanical & Engineering)
2.2 อุตสาหกรรมแม่พิมพ์และการขึ้นรูป (Mold & Die Industry)
2.3 อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
2.4 อุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Sanitation & Environmental)
2.5 อื่นๆ (ระบุ) (Other)
จากวิสัยทัศน์ที่ต้องการพัฒนาสมาชิกให้ต่อยอดธุรกิจของตนเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ นอกจากลูกค้าหลักในอุตสาหกรรมยานยนต์ สมาคมไทยซับคอนจึงได้สำรวจความสนใจ ความพร้อม และศักยภาพสมาชิก พร้อมทั้งจัดกิจกรรมสัมมนา การศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างแนวคิด และเชื่อมโยงสมาชิกกับกลุ่มผู้ซื้อ และหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม S-Curve เพื่อเตรียมความพร้อมผลักดันให้สมาชิกเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตในอุตสาหกรรม S-Curve ที่เข้มแข็งของประเทศไทยให้สำเร็จ โดยในปี 2561-2565 สมาคมฯ มีเป้าหมาย ผลักดันช่วยเหลือสมาชิกทั้งในด้านองค์ความรู้ การสร้างมาตรฐาน การหาตลาด ให้กลุ่มสมาชิกทั้ง 5 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมต่อไปนี้ ให้สำเร็จ ได้แก่
1. คลัสเตอร์อุตสาหกรรมระบบราง
2. คลัสเตอร์อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
3. คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์
4. คลัสเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
5. คลัสเตอร์อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติเพื่อการอุตสาหกรรม
ด้วยวิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิก ให้มีความสามารถในการเชื่อมโยงธุรกิจยกระดับศักยภาพในด้านการการผลิต การจัดการ การตลาด การจัดซื้อ และข้อมูลข่าวสารในระดับมาตรฐานสากลเราจึงมีพันธกิจที่สำคัญต่อสมาชิก
- เชื่อมโยงสถาบัน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน
- เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ วิทยาการใหม่ๆ และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มสมาชิกฯ
- รวบรวมความต้องการในการสั่งซื้อจาก Buyer ทั้งในและต่างประเทศ ประชาสัมพันธ์กระจายงานให้กับสมาชิก
- สนับสนุนให้มีการซื้อ-ขายในหมู่สมาชิก เพื่อร่วมกันพัฒนาสินค้า แบบครบวงจร (Whole Set) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- ได้รับสิทธิต่างๆในการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคม เช่น กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน, การเข้าร่วมอบรมสัมนาที่สมาคมฯ จัดขึ้นให้กับสมาชิกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนา ให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้ในระดับสากล เช่น การจัดการอบรมและสอบเทียบจนได้มาตราฐานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น ISO9000, IATF16949, ISO13485 AS9100 เป็นต้น
- ประชาสัมพันธ์สัมพันธ์บริษัทสมาชิกในสื่อออนไลน์ต่างๆ ของสมาคมฯ เช่น Website, Line Official, Line Group, Facebook, You tube Chanel, Direct E-mail และนำไปโบว์ชัวร์หรือโปรโมชั่นของบริษัทสมาชิกไปประชาสัมพันธ์ตามงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- กิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้แก่สมาชิก โดยของบสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ นำสมาชิกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านชิ้นส่วนระดับแนวหน้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น Subcon Thailand, Thailand Auto parts and Accessories: TAPA, MFair Thailand, Midest Paris (at France), Hannover Messe (at Germany), MTA Vietnam, Manufacturing Indonesia, International Metalworking Philippine และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นประจำทุกปี
อีกทั้งสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทยได้ตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วน ในทวีปเอเซีย เช่น อินเดีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม กัมพูชา และหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดญี่ปุ่น เป็นต้น
ทั้งหมดนี้จึงเป็นภาระกิจอันสำคัญยิ่งที่ “สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย”
จะเป็นสื่อกลาง และแรงขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการรับช่วงการผลิตไทย มีศักยภาพ ความหลากหลาย
ในสินค้าและบริการ จนกลายเป็นผู้นำการรับช่วงการผลิตโลก
วีดีโอ
ข้อมูลติดต่อ
นางสาวปิยฉัตร สุขเรือน
สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย 86/6 อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ชั้น 3 ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10540 ประเทศไทย
การเดินทาง
การเดินทางเพิ่มเติม : 1. ลง BTS เอกมัย นั่งวินมอเตอร์ไซต์มาซอยตรีมิตร ประมาณ 35-40 บาท เข้ามาในซอยตรีมิตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าประตูแรกตึกเดียวกับสถาบันพลาสติก สามารถเดินมาที่ออฟฟิตได้ ระยะทาง 1.1 กม. 2. ลง BTS อ่อนนุช นั่งวินมอเตอร์ไซต์มาซอยตรีมิตร ประมาณ 25-30 บาท เข้ามาในซอยแล้วตรีมิตร เลี้ยวขวาเข้าประตูแรกตึกเดียวกับสถาบันพลาสติก 3. ลง MRT ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต นั่งวินมอเตอร์ไซต์มาซอยตรีมิตร ประมาณ 50 บาท เข้ามาในซอยแล้วตรีมิตร เลี้ยวขวาเข้าประตูแรกตึกเดียวกับสถาบันพลาสติก หมายเหตุ ค่าวินมอเตอร์ไซต์อาจมีการปรับขึ้น ราคาดังกล่าว เป็นอัตราค่าวินตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด